จิตวิทยาสี

พฤษภาคม 20, 2563

จิตวิทยาแห่งสีกับการออกแบบ


จิตวิทยาแห่งสีกับการออกแบบ
จิตวิทยาแห่งสีกับการออกแบบ


สีแดง ให้ความรู้สึกเร็ว (บริษัทข่าว CNN, บริษัทขนส่งไปรษณีย์ไทย, ตัวละครจ้าวความเร็วอย่าง The Flash), ความรู้สึกแข็งแกร่งและพลัง (เครื่องดื่ม Energy drink อย่างกระทิงแดง, โค้ก, ขบวนการ 5 สี ตัวสีแดงเป็นพระเอกและแข็งแกร่งที่สุดเสมอ), ความน่าตื่นเต้น (บริษัทสื่ออย่าง Netflix และ YouTube)





นอกจากนั้น สีแดงยังจะมีความหมายในเชิงลบอีกด้วย เช่น หากเราขับรถทางไกลๆในเดือนเมษายน อากาศร้อน มันจะทำให้เราอยากจะแวะปั๊มน้ำมันซักปั๊มหนึ่ง การขับผ่านปั๊มที่ใช้โทนสีแดงอย่าง Esso มันจะยิ่งทำให้รู้สึกร้อนเข้าไปอีก แต่ปั๊มโทนสีน้ำเงินอย่าง ปตท. และโทนสีเขียวอย่างบางจาก จะทำให้คนขับรู้สึกสดชื่นมากขึ้น เหมือนเป็นโอเอซิสที่อยู่กลางทะเลทราย 

แต่กลับกัน ในประเทศหนาวๆ อย่างญี่ปุ่น การแวะปั๊มคือการเติมพลังงาน คนกลับเลือกปั๊มที่มีโทนสีแดง เพื่อสร้างความอบอุ่น ปั๊มอย่าง Eneos จึงเป็นปั๊มเบอร์หนึ่งของญี่ปุ่นไป  

การใช้สีจึงส่งผลกับจิตวิทยาการเลือกซื้อของผู้บริโภค 

ทฤษฎี วงล้อแห่งสี หากคุณคิดจะออกแบบโลโก้ โพสต์ สื่อโฆษณา การเลือกใช้สีที่ contrast กัน (แตกต่าง แต่ก็เข้ากัน) จึงมีความจำเป็น 

จากวงล้อแห่งสี ให้ดูสีที่เราจะใช้เป็นโทนหลัก และเลือกใช้สีตัวอักษรที่อยู่ในฝั่งตรงข้าม เช่น การออกแบบโฆษณาของ Pizza Company เลือกใช้สีพื้นเขียว อักษรแดง การบินไทย เลือกใช้สีพื้นม่วง อักษรเหลือง เป็นต้น 

 by...ดร.ปิ๊ง (คมทัศน์) 

สีกับการออกแบบและการแต่งตัว


สีกับการออกแบบและการแต่งตัว
สีกับการออกแบบและการแต่งตัว


สีที่ถูกใช้เป็นสีหลัก เช่น พื้นหลัง ฉาก สีกล่อง สีเสื้อ แบคกราวด์โปสเตอร์ สีพื้นผิว 

สีที่ถูกใช้เป็นสีเสริม เช่น ตัวอักษร ลายตัด โบว์(ผูกกล่อง) 

ข้อควรระวัง หากพื้นหลังเป็นสีม่วง (ซึ่งแสดงพลังเชิงจิตวิทยาถึงความ 'หรูหรา') จะใช้สีเหลืองเป็นสีเสริม หรือพวกตัวอักษรบนป้ายโฆษณา เช่น ไทยพาณิชย์ การบินไทย 

แต่หากพื้นหลังเป็นสีเหลือง นั่นไม่ได้หมายความว่า สีม่วง จะเป็นสีที่เข้ากันที่สุด (Best Match) สำหรับการนำมาเสริมพื้นสีเหลือง 

**แก้ไข** สีแดง (หลัก) จะไม่เข้ากับสีน้ำตาล (เสริม) 

By...Dr.Pink (Comtas) 

You Might Also Like

0 comments

Popular Posts

Like us on YouTube

Facebook Images