จิตวิทยาแห่งสีกับการออกแบบ
จิตวิทยาแห่งสีกับการออกแบบ |
นอกจากนั้น สีแดงยังจะมีความหมายในเชิงลบอีกด้วย เช่น หากเราขับรถทางไกลๆในเดือนเมษายน อากาศร้อน มันจะทำให้เราอยากจะแวะปั๊มน้ำมันซักปั๊มหนึ่ง การขับผ่านปั๊มที่ใช้โทนสีแดงอย่าง Esso มันจะยิ่งทำให้รู้สึกร้อนเข้าไปอีก แต่ปั๊มโทนสีน้ำเงินอย่าง ปตท. และโทนสีเขียวอย่างบางจาก จะทำให้คนขับรู้สึกสดชื่นมากขึ้น เหมือนเป็นโอเอซิสที่อยู่กลางทะเลทราย
แต่กลับกัน ในประเทศหนาวๆ อย่างญี่ปุ่น การแวะปั๊มคือการเติมพลังงาน คนกลับเลือกปั๊มที่มีโทนสีแดง เพื่อสร้างความอบอุ่น ปั๊มอย่าง Eneos จึงเป็นปั๊มเบอร์หนึ่งของญี่ปุ่นไป
การใช้สีจึงส่งผลกับจิตวิทยาการเลือกซื้อของผู้บริโภค
ทฤษฎี วงล้อแห่งสี
หากคุณคิดจะออกแบบโลโก้ โพสต์ สื่อโฆษณา การเลือกใช้สีที่ contrast กัน (แตกต่าง แต่ก็เข้ากัน) จึงมีความจำเป็น
จากวงล้อแห่งสี ให้ดูสีที่เราจะใช้เป็นโทนหลัก และเลือกใช้สีตัวอักษรที่อยู่ในฝั่งตรงข้าม เช่น การออกแบบโฆษณาของ Pizza Company เลือกใช้สีพื้นเขียว อักษรแดง
การบินไทย เลือกใช้สีพื้นม่วง อักษรเหลือง เป็นต้น
by...ดร.ปิ๊ง (คมทัศน์)
สีกับการออกแบบและการแต่งตัว
สีกับการออกแบบและการแต่งตัว |
สีที่ถูกใช้เป็นสีหลัก เช่น พื้นหลัง ฉาก สีกล่อง สีเสื้อ แบคกราวด์โปสเตอร์ สีพื้นผิว
สีที่ถูกใช้เป็นสีเสริม เช่น ตัวอักษร ลายตัด โบว์(ผูกกล่อง)
ข้อควรระวัง หากพื้นหลังเป็นสีม่วง (ซึ่งแสดงพลังเชิงจิตวิทยาถึงความ 'หรูหรา') จะใช้สีเหลืองเป็นสีเสริม หรือพวกตัวอักษรบนป้ายโฆษณา เช่น ไทยพาณิชย์ การบินไทย
แต่หากพื้นหลังเป็นสีเหลือง นั่นไม่ได้หมายความว่า สีม่วง จะเป็นสีที่เข้ากันที่สุด (Best Match) สำหรับการนำมาเสริมพื้นสีเหลือง
**แก้ไข**
สีแดง (หลัก) จะไม่เข้ากับสีน้ำตาล (เสริม)
By...Dr.Pink (Comtas)
- พฤษภาคม 20, 2563
- 0 Comments