Travel Photography Composition

เมษายน 11, 2564

 องค์ประกอบภาพ การถ่ายภาพท่องเที่ยว

เคยสงสัยไหม ไปเที่ยวที่เดียวกัน กล้องเหมือนกัน ใช้ฟิลเตอร์เดียวกัน แต่
ทำไมรูปไม่สวยเหมือนเขา?




ถ้าไม่นับเรื่องโทนสีสวยๆ ที่สมัยนี้ใส่ฟิลเตอร์/พรีเซทสำเร็จรูปได้ง่ายๆ หลักๆ ก็น่าจะเรื่ององค์ประกอบภาพนี่แหละที่จะสร้างความแตกต่าง

งั้นเรามาพูดถึงเทคนิคการจัดองค์ประกอบรูปภาพ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติอันดับแรกตั้งแต่หน้างาน ด้วยสองตา สองมือ ขาสองข้าง พาตัวเองไปอยู่ในจุดที่ดีที่สุด พร้อมกล้องคู่ใจ



โทนสีสวยใครๆ ก็ทำได้ ลอกมุมคนอื่นใครๆ ก็ได้ทำได้ แต่ต่อให้ฟิลเตอร์สวยยังไง ก็กู้ชีวิตภาพที่องค์ประกอบรูปภาพไม่ดีไม่ได้นะ




1. แบบคลาสสิค อันนี้เป็นกลุ่มแรก ที่ช่างภาพหลายๆ คนต้องเคยได้ยินผ่านหูมาแน่ๆ ได้แก่ กฎสามส่วน / ฉากหน้า-กลาง-หลัง / เส้นนำสายตา และ กรอบในภาพ

ถึงจะเป็นกฏเก่าแก่ แต่ก็ยังใช้ได้อยู่เสมอ


ตัวอย่างการใช้กฎสามส่วน คือแบ่งภาพเป็นสามส่วนสองแนว แล้ววางจุดเด่นไว้บนรอยตัดของเส้น รวมถึงเส้นขอบฟ้าด้วย


ตัวอย่างการใช้เส้นนำสายตา ภาพนี้ใช้เลนส์ wide ทำให้เกิดเอฟเฟคยืดเล็กน้อย เน้นเส้นทรงน้ำแข็งที่พุ่งไปที่ก้อนน้ำแข็งด้านหลัง


Ansel Adams ผู้ได้รับการยกย่องว่าบิดาแห่งภาพถ่ายภูมิทัศน์ คลาสสิคสุดๆ มีทั้งกฎสามส่วน แล้วก็เส้นนำสายตา


การสร้างกรอบรูปภายในภาพ อาจจะเป็นสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์ (กรอบหน้าต่าง ซุ้มประตูโค้งฯลฯ) หรือกรอบที่เกิดจากธรรมชาติ (หิน ต้นไม้ ก้อนเมฆ ฯลฯ) เพื่อช่วยไกด์สายตาผู้ชมให้มองจุดเด่นที่เราล้อมกรอบไว้

Rodrigo Trevino
@rodtrvn
https://www.instagram.com/rodtrvn/


2. องค์ประกอบสำหรับอินสตาแกรม ยุคนี้ที่ช่างภาพรุ่นใหม่เริ่มหันมาใช้อินสตาแกรมมากขึ้น การจัดองค์ประกอบภาพสำหรับอินสแกรมก็จะมีความเฉพาะทางขึ้นมาอีกนิด ได้แก่
- การโพสภาพแนวตั้งด้วยสัดส่วน 4:5
- การวางจุดเด่นไว้ตรงกลาง


ทำไมต้อง 4:5
4:5 คือสัดส่วนขนาดภาพแนวตั้งที่ยาวที่สุดที่อินสตาแกรมอนุญาตให้เราโพส
ซึ่งหมายความว่ามันจะกินพื้นที่บนจอมือถือของผู้ชมมากที่สุด ดึงความสนใจได้มากสุดนั่นเอง


ด้วยระบบ interface แบบ Grid ตาราง ทำให้ช่างภาพหลายต่อหลายคนไม่ได้ยึดติดกับกฎสามส่วนอีกต่อไป
โดยเฉพาะเวลาโพสลงอินสตาแกรม เพราะคนที่เข้ามาใน account ดูแวบแรกจะมองภาพรวม การวางจุดเด่นไว้กลางภาพจะช่วยให้ Feed ดูสะอาดตา และน่ามอง

**อันนี้แค่เป็นข้อสังเกตว่าช่างภาพรุ่นใหม่ๆ ชอบทำกัน แต่ก็ไม่ได้เป็นกฎตายตัว


Hello Emilie
@helloemilie
https://www.instagram.com/helloemilie/


Benjamin Hardman
@benjaminhardman
https://www.instagram.com/benjaminhardman/


3. การถ่ายแนวนามธรรม ดูแล้วงงว่าเอๆๆๆ นี่มันคืออะไรนะ แต่มันก็สวยดี อะไรทำนองนั้น คือเน้นที่พื้นผิวธรรมชาติ
ภาพถ่ายที่มีมุมมองแปลกตา ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นต้น ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องมี "จุดเด่น" ชัดๆ แต่นำเสนอในลักษณะของแพทเทิร์นมากกว่า






ROMAN KÖNIGSHOFER
@rawmeyn
https://www.instagram.com/rawmeyn/


Daniel Ernst
@daniel_ernst
https://www.instagram.com/daniel_ernst/


4. การเทียบสเกล บางทีถ้าถ่ายภาพวิวเฉยๆ คนดูอาจจะจินตนาการไม่ออกว่าวิวมันกว้างแค่ไหน
การใส่จุดเด่นที่เป็นสิ่งที่คนรู้จักและคุ้นเคย (เช่น คน รถ บ้าน ฯลฯ) จะช่วยให้เกิดการเปรียบเทียบสเกล ทำให้ผู้รับรับรู้ถึงยิ่งใหญ่ของทัศนียภาพได้ง่ายขึ้น

**กลุ่มนี้ต้องใช้เลนส์ที่มีพลังซูมนิดนึง ยิ่งเลนส์เทเลยิ่งแจ่มเลย


2 ภาพนี้ถ่ายที่ Ijien มีคนงานเหมืองซัลเฟอร์ตัวจิ๋วๆ ช่วยในเรื่อง Sense of scale
หากสังเกตจะเห็นว่าฉากหลังจะต้องสว่างกว่าคนหน่อย แล้วก็ลายไม่เยอะไม่วุ่นวาย คนจะได้เด่นขึ้นมา

นอกจากแสงสว่างแล้ว การใส่เสื้อผ้าสีที่ตัดกับสิ่งแวดล้อม ก็ช่วยได้เหมือนกัน เพราะไม่งั้นคนก็จะจมหายไปกับภาพ


ภาพนี้ที่กรีนแลนด์ ถ้าไม่มีเรือลำจิ๋วเราก็จะนึกไม่ออกเลยว่ากำแพงน้ำแข็งมันสูงใหญ่ขนาดไหน


Max Muench
@muenchmax
https://www.instagram.com/muenchmax/


Jason Charles Hill
@jasoncharleshill
https://www.instagram.com/jasoncharleshill/

ที่มา: https://www.facebook.com/giftllee/posts/2642751209121624

ศึกษา รู้แนวทางกันแล้ว ได้เวลาไปลองถ่ายกันหละ ถ้าจะแนะนำคงเอาจุดเด่นไว้กึ่งกลาง ง่ายๆ วันละ 10 รูปก่อน ถ่ายแล้วเอามาอวดกันบ้างนะ

หากเห็นว่าเนื่อหานี้มีประโยชน์ ฝากกดแชร์ด้วยนะ

You Might Also Like

0 comments

Popular Posts

Like us on YouTube

Facebook Images